วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

วิ่ง


การวิ่ง

                      สำหรับผมแล้ว ผมเพิ่งจะเริ่มวิ่งได้ไม่นาน และต้องซักซ้อมเป็นประจำ  เพราะผมมีเป้าหมายคือการวิ่งมาราธอนสิ้นปีนี้    การวิ่งนั้นต้องมีการซ้อมเป็นประจำไม่เช่นนั้น อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้  เนื่องจากร่างกายอาจแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ทัน  การไหลเวียนโลหิต และอื่นๆอีก 
                    เพราะเช่นนี้แล้วผมจึงซ้อมวันละ  40-50  นาที  เป็นประจำ   ปัญหาคือเราจะรู้ได้ไงละว่าเราพร้อมวิ่งจริงหรือยัง ?????
จะรู้ได้อย่างไรว่าพร้อมแล้ว?
สามารถประเมินความพร้อมก่อนเข้าร่วมวิ่งมินิฮาล์ฟมาราธอน หรือการวิ่งมาราธอนประเภทอื่นได้ ด้วยวิธี "Talk Test" โดยให้ออกกำลังกายไประยะหนึ่ง แล้วลองพูดคุยดูว่ายังสามารถพูดรู้เรื่องหรือพูดออกมาเป็นประโยคได้หรือไม่ หากยังพูดรู้เรื่องอยู่ก็สามารถเพิ่มความหนักการฝึกซ้อมได้ หากพูดได้แค่คำ ก็แสดงว่าออกกำลังกายหนักไป ทั้งนี้เป็นการประเมินตนเองเบื้องต้นเท่านั้น
คนมีโรคประจำตัวร่วมวิ่งด้วยได้ไหม?
หากผู้ที่สนใจอยากร่วมวิ่ง แต่มีโรคประจำตัวก็มีโอกาสวิ่งได้ โดยไปพบแพทย์ก่อน เพื่อให้แพทย์ประเมินว่าสภาพร่างกายเรานั้นพร้อมสำหรับการวิ่งหรือไม่ และเพื่อดูว่าร่างกายเรานั้นไหวสำหรับระยะทางเท่าใด
ควรแต่งตัวอย่างไร?
การแต่งตัวสำหรับมือใหม่หัดวิ่งนั้น ควรดูที่ปัจจัยทางการเงินของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองมากก็สามารถเข้าร่วมได้ โดยควรเน้นให้เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ซึ่งอาจจะใส่เป็นเสื้อกีฬา เช่น ชุดบอล โดยควรเป็นชุดที่ใส่คล่องตัว โดยเน้นย้ำว่าต้องไม่เดือดร้อนตัวเอง ส่วนรองเท้าหากไม่มีเงินซื้อรองเท้าวิ่ง อาจจะใส่เป็นรองเท้าหุ้มส้นได้ แต่สำหรับใช้ในการวิ่งระยะยาวนั้นไม่แนะนำ เพราะอาจเกิดปัญหาด้านร่างกาย
วิ่งมาราธอนแล้วดีอย่างไร?
การวิ่งมินิฮาล์ฟ มาราธอน และการวิ่งมาราธอนประเภทอื่นๆ จะช่วยในการเสริมสร้างร่างกาย ระบบไหลเวียนโลหิต รวมไปถึงระบบหายใจให้แข็งแรงยิ่งขึ้น โดยการวิ่งเป็นกีฬาที่ออกกำลังกายได้ง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เยอะ อีกทั้งการวิ่งยังเป็นพื้นฐานของกีฬาทุกชนิดที่ต้องมีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย เช่น ปิงปอง ยิงปืน ปาเป้า ก็ต้องใช้ทักษะการวิ่งเป็นพื้นฐานทั้งสิ้น
สิ่งสุดท้ายที่ อ.จตุรภุช อยากจะฝากไว้ถึงทุกคน คือ อยากให้ทุกคนหันมาใส่ใจออกกำลังกายมากขึ้น โดยจะเป็นการออกกำลังกายด้วยวิธีใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องวิ่งอย่างเดียว เช่น การปั่นจักรยาน 20-30 นาที ต่อวัน ซึ่งใน 1 สัปดาห์ควรออกกำลังกาย 3-5 วัน โดยควรมีช่วงเวลาพักด้วย เช่น ออกกำลังกาย 2 วัน พัก 1 วัน และไม่ควรออกกำลังกายติดต่อกันทีเดียว 5 วัน และควรเลือกกีฬาให้เหมาะกับร่างกายของเรา เช่น หากมีปัญหาเรื่องหัวเข่า ให้เน้นไปออกกำลังกายด้วยแอโรบิคน้ำแทน
เช่นเดียวกับ ดร.สุจิตรา ศรีสังข์ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หนึ่งในผู้ร่วมวิ่งในการแข่งขัน "สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กรุงเทพมาราธอน 2015" เมื่อ 15 พ.ย. 58 ซึ่งเป็นงานที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงมาตรฐานการแข่งขันที่เป็นรายการการแข่งขันระดับนานาชาติ แต่กลับมีระยะที่เกินไปถึง 6 กม. จากระยะทางจริงๆ คือ 21.1 กม.
"ระยะทางที่เพิ่มขึ้นมานั้นสามารถสร้างอันตรายให้แก่นักวิ่งได้ เพราะบางรายอาจซ้อมมาไม่ถึงระยะที่เพิ่มมากว่า 6 กิโลเมตร โดยต้องมองว่าระยะทางที่เพิ่มมานั้นไม่ใช่ใกล้ๆ อาจทำให้เกิดตะคริวและอาการบาดเจ็บสูง เนื่องจากเหนื่อย เพราะเกินขีดความสามารถของตนเอง" 

เหนื่อยก็พัก ไม่ไหวก็พอ!
"นักวิ่งหน้าใหม่ หากลงวิ่งแล้วรู้ตัวว่าไม่ไหวจริงๆ ก็ไม่ควรฝืนวิ่งต่อ และควรพบเจ้าหน้าที่ประจำจุด อีกทั้งการออกจากการแข่งขันก่อนถึงเส้นชัยก็ไม่ใช่เรื่องน่าอาย" ดร.สุจิตรา กล่าว
ทั้งนี้ในฐานะนักวิ่งที่ผ่านการวิ่งมาหลายรายการ ดร.สุจิตรา เคยเจอเหตุการณ์ที่มีผู้ไม่ได้ซ้อมวิ่งแล้วมาลงวิ่งมาราธอน ปรากฏว่าได้รับการบาดเจ็บหลังวิ่งเสร็จ บางรายฟุบไปโดยอัตโนมัติ ทำให้ต้องแอดมิดเข้าโรงพยาบาล เป็นการบ่งบอกได้ว่าการซ้อมนั้นสำคัญเพียงใด
โดยก่อนการวิ่งควรจะมีการวอร์มอัพ-คูลดาวน์ โดยสามารถวอร์มอัพร่างกายได้โดยการอบอุ่นร่างกายก่อนลงวิ่งจริงประมาณ 30 นาที เพื่อให้ร่างกายพร้อมต่อการทำกิจกรรม และควรยืดกล้ามเนื้อก่อนการวิ่ง และหลังจากวิ่งเสร็จควรทำคูลดาวน์ เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกลับสู่สภาวะปกติของร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้โดยการลดความเร็วการวิ่งให้ช้าลง หรืออาจจะวิ่งเหยาะๆ 10-15 นาที พร้อมด้วยเหยียดมัดกล้ามเนื้อ
อ้างอิง https://www.pptvhd36.com
        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น